2014-03-28

มาระบายสีชิเอลด้วย Neopiko-2 กันเถอะจ้า!!

Post by Zeren Zarviiolar ที่ 21:20 0 comment

รีวิวปากกา Sketch Marker “Neopiko-2” ของ Deleter คร่า~!!


ความจริงการรีวิวของโปรดักส์นี้มันควรต้องอัพตั้งนานแล้วล่ะค่ะ  แต่พอดีทางสนพ.จะให้พี่เซเรนย้ายบล็อกไปใช้บล็อกของ Ren Ren ซึ่งบล็อกทำเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้แต่งหน้าแต่งตา พี่เซเรนก็เลยรอให้ทุกอย่างเรียบร้อยแล้วค่อยอัพ (ซึ่งก็ยังไม่เรียบร้อยสักที 5555+) ช่างเหอะ อัพเลยก็แล้วกัน 555+

ถ้าพูดถึงปากกา Sketch Marker โดยส่วนใหญ่ทุกคนมักจะอ๋อและคิดถึง ออกมาทันทีว่า Copic  แต่อย่างที่เคยอัพไว้นะคะ ว่า Copic ไม่ใช่ชื่อของปากกา เป็นชื่อของยี่ห้อปากกา ซึ่งสาเหตุที่ Copic เป็นที่รู้จักกันดีอย่างแพร่หลายในประเทศไทยนั่นเป็นเพราะ Sketch Marker ยี่ห้อนี้เข้ามาจำหน่ายในประเทศเราก่อนยี่ห้ออื่นๆ ดังนั้นคนที่เล่น  Sketch Marker โดยส่วนใหญ่ จึงรู้จักและเคยชินกับ Copic มากกว่ายี่ห้ออื่นๆ แต่ประมาณปลายปีที่แล้วพี่ Zeren ได้มีโอกาสรู้จักกับ Sketch Marker ยี่ห้ออื่น... ทางบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์วาด การ์ตูน Deleter ได้ส่งสินค้าตัวอย่างมาให้พี่ Zeren ได้ลองทดใช้ เป็น  Sketch Marker   Alcohol Base แบบเดียวกับ Copic ซึ่งสามารถใช้ร่วมหรือใช้แทนสี Copic ได้เป็นอย่างดี ชื่อของมันก็คือ Neopiko-2 ค่ะ (ชื่อแอบจำยากนิดส์นุง พี่เซเรนเลยเรียกย่อ เองว่า เนโอปี้จัง ค่ะ อิ อิ)
เอ..... แล้วมันใช้แทนกันได้ดีจริงรึ???  โอเช! ไหนๆ ทางบริษัทเค้าก็ส่ง ตัวอย่างมาให้เราทดลองใช้แล้ว แบบนี้มันก็ต้องพิสูจน์กันหน่อย!!
ดังนั้นงานรีวิวของเราวันนี้จึงเป็นงานที่ใช้สี Sketch Marker Neopiko-2 หรือเนโอปี้จังทั้งหมดเลยนะคะ และภาพที่เราจะใช้รีวิวก็คือ.....





2014-03-04

แนะนำอุปกรณ์: สีเพนท์ผ้า Neopiko-3; Fabric paints-Neopiko 3

Post by Zeren Zarviiolar ที่ 02:42 0 comment
วันนี้มาแนะนำอุปกรณ์กันอีกแล้วค่ะ เป็นสี Marker สำหรับเพนท์ผ้า (Fabric paints) Neopiko-3 ของ Deleter นะคะ....สีตัวนี้คราวก่อนเคย Review ไปบ้างแล้วคร่าวๆ กับ การเพนท์ชายเสื้อยืดลายดอกไม้สวยๆ พร้อมทั้งมีแอบบ่นด้วยว่า Deleter ให้สีมาเทสต์น้อยเกิ๊น~ จะวาดอะไรอลังๆ ก็ลำบากเพราะสีน้อย Deleter ผ่านมาเห็นเข้าก็เลยแจ้งความหมิ่น.. เอ้ย!! ไม่ใช่ๆ Deleter ใจดีส่งสีตัวอย่างมาให้เพิ่มค่ะ ^_^

ในเมื่อทางนั้นส่งสีมาให้เพิ่มแล้วทางเราจะนิ่งเฉยกระไรไปก็ใช่ที่ มีสีเยอะพอจะละเลงภาพมันส์ๆ ลงไปบนผ้าได้แบบนี้ก็ต้องขอลองของกันอีกสักรอบล่ะ เย้!!

ก่อนอื่นเลยกับการเพนท์ผ้าเราต้องเข้าใจก่อนนะคะว่าผ้าแต่ละอย่างจะมีคุณสมบัติของแรงตึงผิวไม่เหมือนกัน... เอ่อ..เรียกไรดีล่ะ... การซับสีก็แล้วกัน น่าจะได้... คือเวลาปาดสีลงผ้าแล้วการที่สีจะซึมลงเนื้อผ้ามีไม่เท่ากันค่ะ แต่ถ้าปาดบางไปคือให้สีเปื้อนอยู่แค่ผิวๆ ไม่ซึมลงเนื้อผ้า เวลาเอาไปซักสีมันจะซีดลงด้วยล่ะ (ลองมาแล้ว 55+) เพราะฉะนั้นเวลาลงสีก็ต้องลงให้มันซึมเนิ้อผ้าในน้ำหนักเท่าๆ กัน <โดยไม่เลอะ >> ซึ่งอยากจะบอกว่า... มันใช้ยากว่าสีอครีลิคเพนท์ผ้าเยอะเลยค่ะ :'(  ยิ่งกับผ้าที่บางและนิ่มมากๆ ซับสีเยอะๆ  มีความยืดหยุ่นสูง  อันนั้นเสี่ยงต่อความเละมาก ถ้าเลือกผ้ามาไม่ดีก็จะทำให้ลงสียากขึ้นอีกเยอะ

แต่ยังไงก็ตาม ถึงลงยากกกว่าแต่ สี Neopiko นี่ก็มีข้อดีที่อครีลิคสู้ไม่ได้อยู่ ซึ่งอันนี้พี่เซเรนค่อนข้างชอบ คือพอเพนท์แล้วมันซึมเนื้อผ้าไปเลย ดูเหมือนงานพิมพ์ติดผ้า ไม่แข็งกระด้าง... ถ้าวาดเสร็จก่อนซักก็จะด้างๆ นิดหน่อย ไม่ถึงกับแข็ง พับได้อะไรได้ สีไม่แตก คือมันเนียนดีค่ะ อันนี้ชอบๆ  และที่สำคัญคือสีมันสดค่ะ พวกสีพิเศษ (สะท้อนแสง) นี่สว่างสดดี ชอบค่ะ :)

บรรยายสรรพคุณแล้วก็มาเริ่มละเลงกันเล้ย!!

เริ่มจากหาผ้าที่ถูกมือก่อนนะคะ พอดีว่าไม่ได้คิดจะเพนท์เสื้อหรือกระเป๋า เป็นรูปตัวอย่างก็เลยเลือกผ้าได้ตามใจชอบ พี่เซเรนเลือกใช้ผ้า...อะไรก็ไม่รู้ คล้ายๆ ผ้าดิบสีครีมๆ หน่อย ผืนบางพอประมาณ แต่แรงตึงผิวผ้ามีน้อย ก็จะสเก็ตร่างลงไปได้ง่ายขึ้น


เหมือนเดิมค่ะ... เราควรร่างแบบก่อน แต่พี่เซเรนฉ่อย ขี้เกียจ ก็เลยเอาภาพที่วาดประกอบนิยายตัวเองมาเป็นแบบร่าง  แต่ต้นแบบ แอคติ้งชุดเชิดอะไรเดี๋ยวค่อยเปลี่ยนสด ขี้เกียจร่างอ่ะ 555+
ตอนร่างก็ใช้สีอ่อนๆ บางๆ A091 ตามภาพค่ะ

อ่านต่อ


2014-02-26

ใช้ปากกา G Pen แล้วเส้นแตก? Part 3: ยางลบและการร่างเส้น Eraser and Sketching

Post by Zeren Zarviiolar ที่ 04:50 0 comment

รวบรวมสาเหตุของการใช้ปากกา G-Pen แล้วเส้นแตกมาถึงจุดสุดท้ายแล้วค่ะ ต่อเลยกันดีกว่า  ว่านอกจากกระดาษ ปากกา หมึก แล้วก็ยังมียางลบกบการร่างเส้นของเราอีกด้วยค่ะ

4.ยางลบ

ยางลบ ใครคิดว่าไม่สำคัญ เลือกยางลบผิดนั้นมันทำเราสั่นไปถึงหัวใจ 555+
ส่วนใหญ่เลยทุกคนจะละเลยมองข้ามอุปกรณ์ตัวนี้ไปอย่างงงๆ  ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงคิดว่ายางลบแค่ลบออกก็จบ มันไม่จบนะคะ คุณภาพของยางลบส่งผลสำคัญต่อวิบัติภัยของต้นฉบับได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวค่ะ

อ่านต่อ

ใช้ปากกา G Pen แล้วเส้นแตก? Part 2: Ink & Pen

Post by Zeren Zarviiolar ที่ 04:09 0 comment
มาว่ากันถึงการฝึกใช้ปากกา G-Pen แล้วเส้นแตกกันต่อเลยดีกว่า  วันนี้บ้าเลือด อัพบล็อกยาวให้จบบทกันไปเลย อิ อิ  
สาเหตุของการทำให้เส้นที่ลากโดยปากา G Pen ต้องแตกร้าว นอกจากกระดาษแล้วก็ยังมีสาเหตุมาจากหมึกคุณภาพแย่ๆ กับหัวปากกาคุณภาพไม่ดีอีกด้วยค่ะ

2.หมึกคุณภาพแย่....

หมึกดีเป็นศรีแก่ตัว หมึกชั่วต้นฉบับของตัวจะบรรลัยเอาได้ง่ายๆ << อันนี้สำคัญมากค่ะ
อย่างที่พวกเราก็พอจะรู้กันอยู่ว่าอุปกรณ์วาดการ์ตูนโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีราคาสูง ยิ่งหมึกนี้ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลยค่ะ ยี่ห้องที่ดี เขียนลื่นและเหล่า Ren Ren ชอบใช้กันมากก็คือ Pilot ink  โหย... มันดีจริงๆ เลยค่ะ ยี่ห้อนี้ เขียนลื่น หมึกข้นกำลังดี คือไม่ใส่มาก ไม่ข้นมาก หมึกไม่แห้งติดหัวปากกาง่าย  ใช้แล้วรู้สึกเมพมาก ซึ่งราคาก็เมพตาม อยู่ราวขวดละ 275-300  ....


นี่คือยี่ห้อที่ชอบใช้มากเลยค่ะ แต่ยี่ห้อที่ใช้จริง (แบบคำนึงถึงรายได้) ก็จะเป็นยี่ห้อที่ราคาถูกกว่านี้หน่อย คือ Maxon กับ Deleter สองยี่ห้อนี้ถือว่าคุณภาพดีเท่ากันค่ะ  ราคาก็ประมาณกัน 175-200 (ราคานี่คือแล้วแต่ร้านค้าค่ะ)

ก็คือเป็นยี่ห้อที่ถูกลงมาแล้วที่ยังมีคุณภาพที่ดีและน่าใช้อยู่  < ถูกกว่านี้ก็ฉ่อยค่ะ เคยลองมาแล้วเหมือนกัน  เพราะราคาอุปกรณ์ประมาณนี้ ดังนั้นบางครั้งจึงมีการเซฟราคาด้วยการใช้หมึกที่คุณภาพและราคาต่ำลงไปอีก บางยี่ห้อก็ใสเกิน ส่งผลให้เส้นแตกได้ บางยี่ห้อก็ข้นเกิน เอาปากจุ่มลากกระดาษแล้วหมึกไม่ออก บางยี่ห้อนี่ตกตะกอนคาหัวปากกาเลยก็มี  แล้วมันจะส่งผลอะไรตามมานะหรือคะ << มันก็คือทำให้ปากกาเส้นแตกไงเล่า!!
จำเอาไว้อย่างว่า หมึกที่ใช้เติมปากกาหมึกซึกเอามาใช้กับ G Pen จุ่มหมึกวาดรูปไม่ได้นะคะ มันใสเกิน อันนี้พี่ลองมาแล้ว บางยี่ห้อโอเค แค่เส้นหมึกสีจาง แต่บางยี่ห้อนี่เส้นแตกร้าวกระจายเป็นเสี่ยงๆ เลย ที่สำคัญคือมันจะทำให้หัว G-Pen เสียเร็วค่ะ

3.หัวปากกาไม่ดี

อันนี้พี่ไม่เคยเจออาการเส้นแตกกับหัวใหม่ๆ นะคะ ส่วนใหญ่คือใช้ไปเยอะจนหัวมันอยากตายเส้นก็จะแตกออกมา ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับยี่ห้อของหัวปากกาด้วยค่ะ  บางยี่ห้อก็ปลายแหลมเกิ๊น~ หัวปากกานี่เวลากรีดลงกระดาษแล้วใจหายวาบ ไม่รู้ว่าหิวมากตั้งกะชาติปางไหน  เสียงครืดดดดด ดังสนั่นบาดโสตประสาท ตามติดด้วยรับประทานกระดาษต้นฉบับติดไปกับหัวปากกา ส่งผลให้มีเศษกระดาษเปื้อนหมึกลากติดไปกับทุกจังหวะของเส้นที่มือเลื่อนไหล โอย... เป็นอะไรที่นรกเกินจะบรรยายมากค่ะ สยองสุดๆ  ในฐานะนักเขียนการ์ตูน... นอกจากหมึกหกลงต้นฉบับมันก็ไม่มีอะไรจะน่ากลัวเกินไปกว่าเหตุการณ์หัวปากการับประทานกระดาษอีกแล้วค่ะ

อ่านต่อ

ใช้ปากกา G Pen แล้วเส้นแตก? Part 1:กระดาษ

Post by Zeren Zarviiolar ที่ 03:39 0 comment
วันก่อนคุณพี่เซเรนได้รับแมสเซจหลังไมค์มาจากแฟนเพจว่าให้รีวิวการใช้ปากกา G-Pen ค่ะ.... ปัญหาก็คือการฝึกหัดใช้ปากกา G Pen ลงเส้นแล้วเส้นแตก  ก็พอดีกับตอนไปสอนน้องๆ ที่รร.โพธิสารพี่เซเรนติดค้างบทการฝึกเส้นให้กับน้องๆ พอดี กลับมาเจอคำถามที่ประมาณกัน ก็เลยขออัพบล็อกในบทนี้เลยก็แล้วกันนะคะ

การรีวิวการใช้ปากกา G Pen อันนี้ยากเย็นสำหรับคุณพี่ค่ะ คือไม่รู้จะรีอะไร เพราะเวลาตัดเส้นพี่ก็เอาปากกาจุ่มหมึกแล้วลากเส้นลงกระดาษก็ The End แล้ว มันไม่ได้มีเทคนิคอะไรมากมาย สำหรับคุณครูนะคะ...  ฟังดูเหมือนง่าย... แต่ถามว่าการลงเส้นด้วย G-Pen แล้วเส้นแตกเป็นไปได้ไหม??  อย่างน้อยโอกาสก็มีมากกว่า 50% ค่ะที่คุณจะประสบเหตุเพศภัยเช่นนั้น  ทั้งหมดทั้งสิ้นปัจจัยที่ทำให้เส้นแตกเวลาที่เราตัดเส้น มันมีสาเหตุมาจาก...
1.กระดาษ 2.หมึก 3.หัวปากกา 4.ยางลบ  5.การร่างเส้น << เกือบทุกปัจจัยหลักตามนี้แหล่ะค่ะ  เดี๋ยวดูกันเป็นข้อๆ ไปนะคะ :)

อย่าคิดว่าไม่มีผลนะคะ  ตามที่ได้เคยเขียนไว้ในบทต้นๆ แนะนำอุปกรณ์วาดการ์ตูน กระดาษนี่ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญระดับต้นๆ สำหรับงานวาดภาพเลยล่ะค่ะ กระดาษดีเป็นศรีแก่ตัว กระดาษชั่วตัวจะน้ำตานองหน้าเอาแน่ๆ เพราะเวลาเราร่างภาพลงไปในกระดาษที่เราไม่รู้จักกับมันดีพอ (แบบเพิ่งลองซื้อมาใหม่แล้วประเดืมอะไรเงี้ย) ระหว่างที่กรีดดินสอลงไปเราไม่มีทางรู้หรอกค่ะว่าเมื่อถึงขั้นตอนการลงหมึกแล้วชีวิตเราจะสดใสหรือรันทัดเป็นเช่นไรบ้าง แล้วยิ่งกับบางครั้งภาพสี... กระดาษบางอย่างลงหมึกได้ แต่ลงสีแล้วบรรลัยมันก็มีเยอะแยะถมไป ยิ่งงาน Color ยิ่งหนักหนาเลยลาะค่ะ เพราะไม่ใช่ว่า 100 ปอนด์ก็สามารถลงสีได้ครอบจักรวาล กระดาษแต่ละอย่างก็เหมาะสมกับสีประเภทต่างๆ ที่มีคุณสมบัติต่างกันไป แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงแค่กระดาษที่ใช้ในการตัดเส้น G-Pen กันก่อนเน๊าะ

โดยส่วนใหญ่กระดาษที่ทีม Ren Ren ใช้จะเป็น การ์ดขาว 180 G. นะคะ  การะดาษที่ใช้วาดต้นฉบับการ์ตูนทั่วไปจะอยู่ในความหนาตั้งแต่ 100 G. ขึ้นไป ตามแต่สนพ.ด้วยนะคะ  แต่ของ Ren Ren เน้นที่ 180 G. มันหนาเซฟ พับยาก ยุ่ยยากดีเวลานักเขียนส่งต้นฉบับมาทางไปรษณีย์ (ทำงานข้ามประเทศก็แบบนี้แหล่ะ 555+ )


 

Manga Teaching Copyright 2009 Sweet Cupcake Designed by Ipiet Templates | Thanks to Blogger Templates | Image by Tadpole's Notez